กฎหมายล่าสุดที่คน HR ต้องรู้ !!
ปี 2568 รัฐบาลได้ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองลูกจ้าง โดยออกกฎหมาย “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง”ขึ้นซึ่งมีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2568 นี้
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คืออะไร ?
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (Employee Welfare Fund) คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นหลักประกันให้กับลูกจ้าง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือเสียชีวิต กองทุนนี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างในช่วงที่ว่างงาน
หรือในกรณีที่ไม่มีสิทธิประโยชน์อื่นจากนายจ้าง
ทำไมต้องเก็บกองทุนเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง ?
- เป็นหลักประกันทางการเงินสำหรับลูกจ้างเมื่อออกจากงาน หรือเสียชีวิต
- ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชย
- ส่งเสริมการออมระยะยาวของแรงงาน
เงื่อนไขและหลักการของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คือ ?
สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ซึ่งนายจ้างไม่ได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนายจ้างต้องส่งเงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามกฎหมาย
โดยลูกจ้างและนายจ้างต้องร่วมกันส่งเงินเข้ากองทุนส่วนละ 0.25% (เพิ่มเป็น 0.5% ตั้งแต่ปี 73) ซึ่งต้องนำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
โดยเงินที่ส่งเข้ากองทุนนั้น จะถูกใช้เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ได้รับสิทธิเมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือเสียชีวิต เป็นต้น
ทำไม HR ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ?
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของพนักงานและการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน โดยมีเหตุผลหลักๆ ดังนี้
✅ เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายแรงงาน
- กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นกลไกหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- HR ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น ในกรณีที่นายจ้างเลิกกิจการโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ระบบนี้จะช่วยให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์
✅ มีบทบาทในกระบวนการออกจากงาน
- เมื่อมีการเลิกจ้างหรือกรณีนายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยได้ HR จะเป็นผู้รวบรวมเอกสารและดำเนินเรื่องการขอรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างแทนพนักงาน
✅ ช่วยรักษาภาพลักษณ์องค์กร
- หาก HR บริหารจัดการเรื่องสิทธิประโยชน์ได้ดี พนักงานจะรู้สึกมั่นใจและมีความเชื่อมั่นในองค์กร โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต เช่น บริษัทปิดกิจการ หรือลดขนาดองค์กร
✅ ช่วยให้คำแนะนำพนักงานได้ถูกต้อง
- พนักงานมักจะสอบถามสิทธิของตนเองเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น
- HR ที่มีความรู้เรื่องกองทุนนี้จะสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นที่พึ่งให้กับพนักงานได้
✅ ลดความเสี่ยงทางกฎหมายของบริษัท
- หาก HR ไม่เข้าใจหรือเพิกเฉยต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้องค์กรโดนฟ้องร้องหรือต้องเสียค่าปรับได้
.
สรุป : กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างคือหนึ่งในกลไกด้านแรงงานที่ HR จำเป็นต้องรู้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของพนักงาน ดำเนินงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย
และช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในองค์กร

——————————— ———————————–
ค่าลดหย่อนปี 2568 ที่ HR ควรทราบ !!
✅ กองทุน Thai ESGX คืออะไร ?
กองทุน Thai ESGX (หรือ Thai ESG Extra) คือ กองทุนทางเลือกใหม่ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีพิเศษสำหรับปี 2568, โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ถือ LTF
ที่ต้องการสับเปลี่ยนมาลงทุนในกองทุนนี้ กองทุนนี้มุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ทางภาษี (สำหรับใช้ลดหย่อนช่วง พ.ค.–มิ.ย. 68)
✅ สำหรับผู้ลงทุนใหม่ : ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน
✅ สำหรับผู้ที่สับเปลี่ยนจาก LTF : เดิมเต็มจำนวน (สูงสุด 500,000 บาท) จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนปีแรก ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ปี 69– 72 ลดหย่อนต่อปี
ปีละ 50,000 บาท (รวมไม่เกิน 500,000 บาท)
สรุป : กองทุน Thai ESGX เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีและลงทุนในหุ้นที่ยั่งยืน กองทุนนี้มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีพิเศษสำหรับ
ปี 2568 และมีเงื่อนไขการลงทุนและการถือครองที่ชัดเจน
——————————— ———————————–
✅ Easy E-Receipt คืออะไร ?
Easy E-Receipt เป็นมาตรการภาษี ที่ช่วยลดหย่อนภาษี แก่ประชาชนที่ใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากร้านค้าดังกล่าว สามารถนำใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์
มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และยังช่วยเหลือร้านค้าให้เข้าสู่ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
เงื่อนไขและข้อกำหนดของ Easy E–Receipt
- ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ต้องซื้อสินค้าหรือบริการ จากผู้ประกอบการ ในช่วงเวลา วันที่ 16 ม.ค. – 28 ก.พ. 2568
- วงเงินลดหย่อนสูงสุด รวมไม่เกิน 50,000 บาท โดย 30,000 บาทแรก สำหรับซื้อสินค้า/บริการทั่วไปจากร้านค้า VAT หรือไม่ใช่ VAT ที่ออก E-Tax Invoice หรือ E-Receipt
- เพิ่มเติม 20,000 บาท สำหรับสินค้า/บริการจาก OTOP, วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (ต้องออกเอกสาร E‑Receipt หรือ E‑Tax Invoice)
ทำไม HR ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี ??
- HR มีหน้าที่ ชี้แจง หรือแนะนำการใช้สิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงาน เกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ
- ช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้มีการวางแผนภาษีได้อย่างคุ้มค่า โดยการซื้อสินค้า/บริการช่วงต้นปี
- พร้อมแนะการขอ E-Receipt ที่ใช้ลดหย่อนแก่พนักงานได้
- HR สามารถ จัดทำสื่อสรุปง่ายๆ แจกพนักงาน หรือจัด session ให้ความรู้เพื่อช่วยให้พนักงานประหยัดภาษี
- ช่วยลดคำถามซ้ำๆช่วงปลายปี เช่น ลดหย่อนอะไรได้บ้าง, ใช้ใบเสร็จแบบไหนได้บ้าง เป็นต้น
- เสริมภาพลักษณ์ต่อ HR ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านการวางแผนสิทธิประโยชน์ภาษีให้แก่พนักงาน
ระบบ BUKALA ช่วยงาน HR คือ :
✅ บันทึกสมาชิกเข้ากองทุนฯ อัตโนมัติ
✅ รองรับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ สัมพันธ์นโยบายบริษัทตามเงื่อนไขการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
✅ คำนวณเงินหักเข้ากองทุนฯ และเงินสมทบนายจ้างเข้ากองทุนให้อัตโนมัติ
✅ HR สามารถออกรายงาน สกล.3 ได้ทันทีหลังทำเงินเดือนเสร็จ โดยไม่มีขั้นตอนการทำงานเพิ่ม
✅ สามารถเรียกดูรายงานประวัติการเป็นสมาชิกกองทุนฯ และเงินหักสะสมได้
——————————— ———————————–
สรุป : BUKALA คือ ผู้ช่วยอัจฉริยะของงาน HR ในการจัดการเรื่องกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และการลดหย่อนภาษีในรูปแบบต่าง ๆ
แบบครบจบในที่เดียว ทั้งคำนวณ แจ้งเตือนได้แบบอัตโนมัติและแม่นยำ ช่วยลดเวลา ลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงานของ HR ได้อย่างดี
——————————— ———————————–
… ระบบ BUKALA PLAWANS BY COMPUPOWER …